วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

Education in 21st century

        ศิษย์ในศตวรรษที่ 21

      ลักษณะของศิษย์ในศตวรรษที่ 21
                1. มีอิสระ
                2. ต้องดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้ตรงตามความต้องการของตนเอง
                3. ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
                4. เป็นตัวของตัวเอง
                5. ความสนุกสนานเป็นส่วนหนึ่งของงาน
                6. การร่วมมือเป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
                7. ต้องการความเร็วในการสื่อสาร หาข้อมูล
                8. สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

        ปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้
                1. Meatal model building
                2. Authentic learning
                3. Internal motivation
                4. Multiple intelligence
                5. Social learning

        ทักษะในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

                ครูต้องไม่สอน แต่ออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก การเรียนรู้ให้นักเรียน เรียนรู้ จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้วการเรียนรู้จะเกิดภายในสมองของตนเอง เรียกว่า PBL(Project-Based Learning)
       
        สอนน้อยเรียนมาก เน้นกิจกรรมโดยครูออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนเรียนรู้ให้ได้มากที่สุด ต้องตอบได้ว่านักเรียนเรียนอะไรและครูต้องทำอะไรเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้น และไม่ต้องทำอะไร การเรียนในแบบดังกล่าวครูจะสำคัญมากและทำให้ท้าทายต่อความสามารถของครูมากที่สุด
       
        “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ครูต้องไม่สอนแต่ออกแบบการเรียนรู้

      ทักษะการเรียนรู้คือ  3R x 7C
       
        3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ
(A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
        7C ได้แก่
        Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
        Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
        Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่าง
วัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
        Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
        Communications, information & media literacy (ทักษะด้าน
การสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
        Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร)
        Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
        ทักษะที่จำเป็นอื่นๆ
·       ทักษะอาชีพและทักษะด้านชีวิต
§  ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
§  การริเริ่มและกำกับดูแลตนเอง
§  ด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
§  สามารถทำงานดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันได้โดยไม่เครียด
§  การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้
§  มีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
·       ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
§  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
§  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา
§  การสื่อสารและการร่วมมือ
·       ทักษะเทคโนโลยีและการสื่อสาร
§  ด้านสารสนเทศ
§  ด้านสื่อ
§  ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
·       ทักษะความเป็นนานาชาติ
§  ความร่วมมือหลัก
·       ความมั่นคง
·       เศรษฐกิจ
·       สังคมและวัฒนธรรม
·       ความเข้าใจ
§  บทบาท
·       การทำงานและเพื่อสังคม
·       ฝึกฝนสติปัญญาของตน
·       ทำหน้าที่พลเมือง
·       สืบทอดจารีตและคุณค่า

          พัฒนาสมองห้าด้าน
        1. สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)
        2. สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind)
        3. สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind)
        4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind)
        5. สมองด้านจริยธรรม (ethical mind)

        แนวคิดการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
            “จงอย่าชมความสามารถให้ชมความมานะพยายามเพื่อทำให้สิ่งที่มีคุณค่าคือความมานะพยายามความสำเร็จที่ได้มาจากความบากบั่นเอาชนะอุปสรรคจงอย่างชื่นชมความสำเร็จที่ได้มาโดยง่าย”


      ทักษะการเรียนรู้และการสอน

              เครื่องมือที่สำคัญของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 คือ คำถามกับปัญหา การเรียนรู้โดยการตั้งคำถามเป็นหลักเรียกว่า Inquiry-Based Learning หรือ IBL
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักเรียกว่า Problem-Based Learning หรือ PBL หากหลายปัญหาประกอบกันอย่างซับซ้อนเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้สำเร็จจะเรียกว่า Project-Based Learning โดยผู้สอนจะเป็นโค้ช หรือ คุณอำนวยการเรียนรู้ (learning facilitator) โดยต้องเลิกเป็น ผู้สอน
       
        การเรียนรู้อย่างมีพลัง
·       Define ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วย มีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทายของโครงการคืออะไร และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร

·       Plan การวางแผนการทำงานในโครงการ ครูก็ต้องวางแผนกำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำโครงการของนักเรียน และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญบางประเด็นที่นักเรียนมองข้ามโดยถือหลักว่า ครูต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือจนทีมงานขาดโอกาสคิดเองแก้ปัญหาเอง

·       Do การลงมือทำ มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา การประสานงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการทำงานภายใต้ทรัพยากรจำกัด ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติมทักษะในการทำงานในสภาพที่ทีมงานมีความแตกต่างหลากหลาย ทักษะการทำงานในสภาพกดดัน ทักษะในการบันทึกผลงาน ทักษะในการวิเคราะห์ผล และแลกเปลี่ยนข้อวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมทีม เป็นต้น

·       Review เป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดการทบทวนขั้นตอนของงานและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น แล้วเอามานำเสนอในรูปแบบที่เร้าใจ ให้อารมณ์และให้ความรู้ (ปัญญา)

       วิธีการจัดการเรียนรู้
·      การเรียนรู้กลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน
·       การเรียนรู้แบบใช้โครงการ
·       การเรียนรู้โดยใช้ปรัชญาเป็นฐานคิด

      จิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อศิษย์
            PLC คือเครื่องมือ ให้ครูทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยมีเป้าหมายหลักที่ผลการเรียนรู้ของนักเรียน แต่จริงๆ แล้วยังมีผลลัพธ์ที่การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยสิ้นเชิง (school transformation) อีกด้วยวิธีทำงานเปลี่ยนไป ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเปลี่ยนไป วัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป”

        คนหัดใหม่มีวิธีการทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญได้ด้วย 4 กลไก
·       เพิ่มต้นทุนความรู้
·       ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัด
·       ฝึกคิดแบบลึก
·       คุยกับตัวเองว่ากำลังขบปัญหาอะไรอยู่

      ครุที่เก่งมีลักษณะสำคัญ 2 ด้าน
·       รักเอาใจใส่เด็ก
·       สามารถออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจ และเข้าใจงายสำหรับศิษย์

      สมดุลระหว่างความยากกับความง่าย
·       การคิดทำได้ช้า
·       การคิดนั้นยากต้องใช้ความพยายามมาก
·       ผลของการคิดนั้นไม่แน่ว่าถูกต้อง

      สอนให้เหมาะสมต่อความแตกต่างของศิษย์
·     ความแตกต่างของศิษย์
§  ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้
§  รูปแบบการเรียน
§  ความฉลาด 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา
               ·     ทฤษฎีต่างๆ
§  ทฤษฎีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท แบบเน้นโสดประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว
§  ทฤษฎีพหุปัญญา


      มองอนาคตการปฏิรูปการศึกษาไทย

      Malcolm Gladwell
·      การเห็นคุณค่าและเคารพความแตกต่างหลากหลายของผู้คน
·      ครูต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิดทักษะนี้จนเป็นนิสัย คือ เคารพความเห็น และความรู้สึกของผู้อื่น
·      PBL
§  ทำโครงการเป็นทีม
§  ให้เด็กได้ทำงานร่วมกับเพื่อนที่บุคลิกต่าง ๆ กัน

      IBL(Inquiry-Based Learning)
            เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนตั้งคำถาม ทำความชัดเจนของคำถาม แล้วดำเนินการหาคำตอบเอาเองตามความหมายในวิกิพิเดีย IBL เป็นการเรียนแบบที่เรียกว่า Open Learning คือการไม่มีคำถามและคำตอบตายตัว เป็นรูปแบบการเรียนที่ผู้เรียนได้ฝึกฝนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ

      PLC สู่ TTLC
            เป็นการรวมตัวของครูกับชุมชน

      ทักษะการจัดการสอบ
·       ใช้การสอบเป็นเครื่องมือกระตุ้นเด็กให้เกิดการเรียนรู้
·       การจัดการสอบเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า
            หลักการ
·       สอบบ่อยๆ
·       ใช้เวลาไม่มาก
·       ข้อสอบไม่กี่ข้อ
·       ให้ศิษย์รู้คำตอบทันทีเหรือเกือบทันที


      คำกล่าวของบุคคลต่าง ๆ
                ข่งจื๊อ ฉันได้ยินแล้วก็ลืม ฉันได้เห็นฉันจึงจำ เมื่อฉันลงมือทำฉันจึงเข้าใจ
                ศาสตราจารย์วิลลิง แฮม
·       ศิษย์มีความแตกต่างกัน หลากลายด้านมาก เราจึงต้องปรับการสอนให้เหมาะสมต่อความแตกต่างนั้น
·       ไม่มีวิธีฝึกเพื่อขยายพื้นที่ของความจำใช้งานแต่การฝึกจะชวยให้ใช้พื้นที่ความจำใช้งานที่มีจำกัดนั้น ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
·       How can I teach student the skill they need when the standardized test require only facgs.
                LouAnne Johnson
·       อย่ารังเกลียดตัวเด็กให้รังเกียจพฤติกรรมและหาทางช่วยเหลือเด็กให้หลุดพ้นจากพฤติกรรมนั้น นี่คือหลักของ “ครูเพื่อศิษย์”

·       จงระมัดระวังคำพูด คำพูดของครูอาจก้องอยู่ในหูเด็กชั่วชีวิต










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น